วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วีดีโอช่วยสอนภาษาคอมพิวเตอร์


สอนเขียนโปรแกรมภาษา JAVA 

Hello World




1. เปิด Eclipse ขึ้นมาเลย

2. คลิกขวาแล้วเลือก Extract Here

3. เมื่อได้ File edpse แล้วคลิกเข้าไปใน File 

4. จากนั้นก็โปรแกรมขึ้นมา

5. เลือกที่สำหรับเก็บ Source code เรียกว่า "Workspace"

6. เลือก Workbench เพื่อเข้าไปที่หน้าจัดการ Project

7. กดปินหน้า Welcome แล้วจะแสดงหน้าจัดการ Project นั้นขึ้นมา

8.  สร้าง Project ใหม่ โดยเลือกเป็น Java Project

9. ตั้งชื่อ Project เป็น HelloworldProject แล้วกด Enter

10.  จากนั้นก็จะได้ HelloworldProject ขึ้นมา

11. ทดสอบเขียนโค้ด Java  ภายใน Helloworld.java

บริษัทแห่งหนึ่งผลิตสินค้าส่งออกได้ 2000 ชิ้นต่อปี ในแต่ละปีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นปีละ 365 ชิ้น
ให้คำนวณและแสดงผลลัพธ์ว่าใช้เวลากี่ปีบริษัทแห่งนี้จึงจะผลิตสินค้าได้มากกว่า 5000 ชิ้นต่อปี

public class Production {
public static void main (String[] args) {
int product = 2000;
int year = 0;
while (product <= 5000) {
product = product + 365;
year++;
System.out.println("ปีที่ = " + year);
System.out.println("สินค้าส่งออก = " + product);
}
System.out.println("ใช้เวลาทั้งหมด = " + year + " ปี ");
}
}




การเขียนโปรแกรมภาษา C
ด้วยโปรแกรม Dev C++ เบื้องต้น



                                   



1. โหลดโปรแกรม DEV C + + มา

2. จากนั้นก็เปิดโปรแกรมนั้นขึ้นมา

3. ไปที่เมนู File แล้วเลือก New แล้วเลือก Scurce File คีย์ลัดคือ Ctel+N

4. จากนั้นก็ทดสอบเขียนโค้ดลงไปเลย

5. ถ้าตัดอักษรดูเล็กเกินไปให้เลือกเมนู Tools แล้วเลือก Editor Options

6. แล้วมาเลือกในแถบของ Display เลือกขนาด แล้วกด ok

ตัวอย่าง รูปแบบของการกำหนดชนิดของตัวแปร ได้แก่
int i, j, count; float sum, product; char ch; bool passed_exam;

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=BdjsCuXJIUQ
           
          https://www.youtube.com/watch?v=3H0XCnomppc









วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ภาษาสำหรับพัฒนาโปรแกรม


ภาษาคอมพิวเตอร์

มนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)


ภาษาเครื่อง (Machine Language)การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด


คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นคำสั่งที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้ว่าจะต้องทำอะไร เรียกส่วนนี้ว่า ออปโคด (Opcode หรือที่ย่อมาจากคำ Operation code) ส่วนที่สองจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าให้ไปนำข้อมูลมาจากที่ใด เรียกส่วนนี้ว่า โอเปอร์แรนด์(Operand) ในการเขียนด้วยคำสั่งภาษานี้ ผู้ทำโปรแกรมจะต้องจำที่อยู่ (Address) ของข้อมูลหรือที่เก็บข้อมูลเหล่านั้น (ซึ่งจะเป็นตัวเลขทั้งหมด)ได้ อาจมีตั้งแต่ 1-100,000 แล้วแต่ขนาดของเครื่อง ปกติกว่าจะจำได้ มักจะใช้เวลามากและแม้กระนั้นก็ยังผิดพลาดอยู่เสมอ เช่น ถ้าจะสั่งให้นำค่าที่หน่วยความจำเลขที่ 0184 บวกกับค่าที่อยู่ในหน่วยความจำ 8672 จะเขียนว่า
00100000000000000000000000010111000
หรือแม้แต่เขียนเป็นเลขฐานสิบก็ยังยุ่งยาก คำสั่งของภาษาเครื่องนี้ จะต่างกันไปตามชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้
ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเดียวที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และเป็นภาษาที่ประกอบด้วยตัวอักษรเพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 เท่านั้น การใช้
ภาษาเครื่องนั้นค่อนข้างยากมาก นอกจากจะต้องจำคำสั่งเป็นลำดับของเลข 0 กับ 1 แล้วยังจะต้องออกคำสั่งต่างๆ อย่างละเอียดมากๆ ด้วย
ตัวอย่างเช่น คำสั่งภาษาเครื่องสำหรับบวกเลขสองจำนวนอาจมีลักษณะดังนี้


0110000000000110

0110110000010000

1010010000010001


ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน


ตารางแสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ ภาษาเครื่อง รหัสเลขฐานสิบหก
MOV AL,05 10110000 00000101 B0 05
MOV BL,08 10110011 00001000 B3 08
ADD AL,BL 00000000 11011000 00 D8
MOV CL,AL 10001000 11000001 88 C1


บรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL

บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL
การใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า “แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์


ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่


1) ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัดเป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
ตัวอย่างของภาษา FORTRAN บางส่วน มีดังนี้

READ X

IF((X.GT.0) .AND. (X.LT.100)) THEN

PRINT *, ‘VALUE OF X IS :’,X

ELSE

PRINT * , ‘X IS NOT BETWEEN 0 AND 100’

2) ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502 ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3) ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็นภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอนเขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอกจากนี้ ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชาผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างคำสั่งภาษาโคบอล (COBAL)

1.move 1 to a
2.add 1 to a
3.compute a = a + 1
4.accept a
5.accept a with background-color is 2 foreground-collor is 0
6.display 5 line 5 col 10
7.display 5 with no advancing
8.display 5 at 0950
9.if a = 1 display "one"
10.if a =1 display "one" else display "other".
11.read xfile at end move "1" to flag-end.
12.perform x-para
13.perform y-para until flag-end = "1"
14.perform z-para 10 times
15.perform z-para until i >= 12
16.stop run.
17.open input file1 fil2
18.open output file3 file4
19.close file1
20.write outrec from inrec before advancing 1 line
21.file-control.
select salafile assign to "d.dat"
organization is indexed access is sequential record key is sid.

4) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ตัวอย่าง

MyNumber : integer ; /

mynumber : integer ; /

12number : integer ; X

my_num : integer ; /

my num : integer ; X


5) ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษาซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอกจากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)

ตัวอย่าง             โครงสร้างโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีพลัสพลัส


#include <iostream.h>             ส่วนเรียกใช้ไฟล์อื่น       



char  ch;
                 
     

ส่วนกำหนดชื่อ
 
int  main(void)

{

ส่วนคำสั่ง
 
      ch = 'A';
      cout<<²Hello world²;                
      return 0;

6) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป


7) การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษานี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก

8) ภาษาจาวา (Java)
พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งานระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้

9) ภาษาเดลฟาย (Delphi)

เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์



Monitor (จอภาพ)

Speaker (ลำโพง)


Keyboard (คีย์บอร์ด)


Mouse (เม้าส์)


Case (เคส)



Reader all in one Internal


Harddisk (ฮาร์ดดิสก์)



Sound Card (การ์ดเสียง)



VGA Card (การ์ดจอภาพ)


RAM (แรม)


CPU (ซีพียู)



CPU FAN (พัดลมซีพียู)


Mainboard (เมนบอร์ด)



DVD ROM  Drive



Power Supply (แหล่งจ่ายไฟ)



Modem (เครื่องแปลงสัญญาณ)



Chip (ชิป)



Diskette (แผ่นบันทึก)



Hardware (ส่วนเครื่อง หรือส่วนอุปกรณ์)




Fiber-optic cable (สายเส้นใยนำแสง)



Microprocessor (ตัวประมวลผล)


CD (ซีดี)



Printer (ปริ๊นเตอร์)




ที่มา : http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=26&id=17226
          https://sites.google.com/site/suisapoolkerd/rwm-kha-saphth-keiyw-kab-khxmphiwtexr



วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

ระบบปฏิบัติการ Mac OS


ระบบปฏิบัติการ MAC

เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)

                                                   Mac
                                                        ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ MAC

                                                        Mac-OS-X-10-0-Cheetah
                                       รุ่นของ MAC OS XMac OS X 10.0 Cheetah (รุ่นแรก)

ในปี 2001 ก็ได้ปรากฏ Mac OS X เวอร์ชันเต็มตัวแรก ซึ่งก็คือ Mac OS X 10.0 โดยใช้ชื่อว่า Cheetah โดยในเวอร์ชันแรกนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายมากนักสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

                                            Mac-OS-X-Puma
                                                      Mac OS X 10.1, 10.2 และ 10.3

ในปลายปี 2001 ทาง Apple ที่ได้อัพเกรดเป็น Mac OS X 10.1 (Mac OS X Puma) และในเดือนสิงหาคมปี 2002 ได้อัพเกรดอีกครั้งเป็น Mac OS X 10.2 (Mac OS X Jaguar) โดยเพิ่มคณสมบัติเด่นๆ เช่น โปรแกรม iChat สนทนาผ่านระบบออนไลน์ รองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายของไมโครซอฟท์ ฯลฯ


ในปี 2003 ก็ได้เสนอ Mac OS X 10.3 (Mac OS X Panther ) ที่มาพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น Expose สลับการทำงานระหว่างโปรแกรม Fast User Switching เปลี่ยนผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้อง Log out ปรับปรุง iChat เป็น iChat AV ที่สามารถสื่อสารแบบมองเห็นหน้าอีกฝ่ายหนึ่งได้ นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวโปรแกรมท่องเว็บอย่าง Safari อีกด้วย


                                            Mac-OS-X-Tiger
                                                            Mac OS X Tiger

ปี 2005 เปิดตัว Mac OS X 10.4 (Mac OS X Tiger) โดยได้แนะนำคุณสมบัติใหม่ เช่น Automator รวมคำสั่งเพื่อทำงานอัตโนมัติได้ Voice Over ที่ออกเสียงคำสั่งต่างๆ Spotlight ค้นหาไฟล์ รวมถึงข้อมูลภายในไฟล์ได้ Dashboard เรียกใช้งานโปรแกรมที่ใช้เป็นประจำจากหน้าจอ Desktop นำเสนอ QuickTime รุ่นใหม่ ปรับปรุงโปรแกรมท่องเว็บเป็น Safari 2.0 เป็นต้น


                                Mac-OS-X-Leopard 
                                              Mac OS X Leopard

ปี 2007 ทาง Apple ได้เปิดตัว Mac OS X 10.5 (Mac OS X Leopard) ซึ่งถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เพราะได้เพิ่มและปรับปรุงคุณสมบัติใหม่ๆ มากมาย เช่น Cover Flow มุมมองแสดงข้อมูลในสไตล์ที่สวยงาม Quick Look แสดงตัวอย่างภายในไฟล์ Stack ใช้เก็บโฟลเดอร์ที่ใช้งานบ่อๆ Time Machine ใช้แบ็คอัพข้อมูล สามารถกลับไปกู้ข้อมูลเก่าๆได้ง่าย Space ที่สามารรถแบ่งหน้าจอเหมือนว่าได้ต่อหลายจอภาพและอื่นๆกว่า 300 รายการ

                                         Mac-OS-X-Snow-Leopard
                                                       Mac OS X Snow Leopard

ปี 2009 ทาง Apple ก็ได้เปิดตัว Mac OS X รุ่น 10.6 หรือ Mac OS X Snow Leopard โดยมีการปรับปรุงในหลายๆด้าน เช่น รองรับระบบ 64 บิต พัฒนาให้รองรับระบบ Multicore (ซีพียูแบบหลายแกน) ตลอดจนนำเสนอโปรแกรม QuickTime X ให้สามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียทั้งบนเครื่องและออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น แนะนำโปรแกรมท่องเว็บรุ่นใหม่อย่าง Safari 4 เป็นต้น

                                      Mac-OSX-Lion
                                                              Mac OS X Lion

Mac OS X Lion เปิดตัวกลางปี 2011 มีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ อาทิ การพัฒนาระบบ Multi-Touch ปรับปรุงโปรแกรม Mail, การเปิดแอพแบบ Full Screen, Mission Control รวมการสั่งงานบนหน้าจอ, การเชื่อมต่อไร้สายผ่าน AirDrop, Mac Apps Stores ศูนย์รวมแอพพลิเคชัน , ระบบ Launchpad สำหรับจัดการแอพบนเครื่อง และการจัดเก็บ/กู้คืนไฟล์ด้วย AutoSave และ Versions

                                      Mac-OS-X-Mountain-Lion
                                                  Mac OS X Mountain Lion

เป็น Mac OS X รุ่นล่าสุด เปิดตัวกลางปี 2012 โดยความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ ได้เพิ่มคุณสมบัติซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่บน iPad มากยิ่งขึ้น ปรับปรุงให้สามารถใช้งานร่วมกับ iPad และ iPhone ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย เช่น สามารถส่งข้อความระหว่างอุปกรณ์ของ Apple ผ่านทาง Message มีระบบการเตือนเมื่อถึงกำหนดด้วย Reminders มี Notification Center ที่สามารถเก็บข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในที่แห่งเดียว การทำงานร่วมกับ Facebook และ Twitter ได้ทันทีบนหลายๆ โปรแกรมพร้อมปรับปรุงให้สามารถผนวกข้อมูลกับ iCloud ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                                      Mac-OS-X-10.9-Mavericks
                                                Mac OS X 10.9 (Mavericks)

เปิดตัวในปี 2013 เป็นรุ่นล่าสุดแต่ยังไม่ได้เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการ (ขณะเขียนบทความ สิงหาคม 2556) เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของรุ่นก่อน ดูว่าแมครุ่นไหนที่อัพเดทเป็น Mavericks ได้



                                 ระบบปฏิบัติการ Mac OS X V.001 




                                    ระบบปฏิบัติการ Mac OS X V.002

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด


ให้นักเรียนบอกความหมายและความแตกต่างของระบบปฎิบัติการต่อไปนี้อย่างน้อยข้อละ 5 บรรทัด

1. ระบบปฏิบัติการ ios

                                          

ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) มีชื่อเดิมว่า iPhone OS เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของ iPhone เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน (Smartphone) ของแอปเปิล โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ iPhone และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ iPot Touch และiPad โดยระบบปฏิบัติการนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอ็ปสตอร์สำหรับการเข้าถึงถึงแอพพลิเคชั่น(Application) มากกว่า 300,000 ตัว ซึ่งมีการดาวน์โหลดไปมากกว่าห้าพันล้านครั้ง แอปเปิลได้มีการพัฒนาปรับปรุงสำหรับ iPhone, iPad และ iPod Touch ผ่านทางระบบ iTunes คือโปรแกรมฟรี สำหรับ Mac และ PC ใช้ดูหนังฟังเพลงบนคอมพิวเตอร์ รวมทั้งจัดระเบียบและ sync ทุกๆอย่าง และเป็นร้านขายความบันเทิงบนคอมพิวเตอร์, บน iPod touch, iPhone และ iPad ที่มีทุกๆอย่างสำหรับคุณ ในทุกที่และทุกเวลา พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีความเป็นเลิศ ซึ่งนี้คือข้อได้เปรียบ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
Android กับ iOS เหมือนอาหารไทยกับอาหารญี่ปุ่น ทั้งสองไม่ได้อร่อยไปกว่ากันหรอก แต่อยู่ที่ว่าใครจะชอบกินแบบไหน 
                                     Android - iOS

อิสระ
Android เหมือนคอมพิวเตอร์เลย ติดตั้งแอพจากไหนก็ได้ เชื่อมต่อแกับอุปกรณ์ภายนอกได้ง่าย (เสียบ USB กับคอมเครื่องไหนก็ได้) เข้าถึงไฟล์ต่างๆและปรับแต่งการตั้งค่าของเครื่องได้
ง่าย
iOS เป็นระบบที่มีความซับซ้อนน้อย จุดเด่นคือมีบริการจากส่วนกลางไม่ว่าจะเป็น iTunes, Games Center และ iCloud ทำให้ผู้ใช้รู้สึกได้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวระบบ (บัญชีเดียวใช้บริการได้อย่างครอบคลุม) ที่น่าสนใจคือปลอดภัยจากมัลแวร์
                                                    Android - iOS
จอมพลัง
ถ้าชอบการปรับแต่งความสามารถให้กับระบบ ต้องเลือก Android สามารถลงแอพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่อง ส่วนจุดเด่นของระบบนี้คือ “Multitask” สามารถทำงานได้หลายแอพพร้อมกันในเวลาเดียว
เสถียร
iOS ไม่ได้แค่ลื่นเฉพาะหน้าโฮมกรีนนะ แต่แอพต่างๆก็ไหลลื่น ประหยัดพลังงานแม้จะเปิดแอพค้างไว้ ที่สำคัญคือลงแอพมากขึ้น ประสิทธิภาพเครื่องไม่ได้ด้อยลงไปเลย
                                                   Android - iOS
นักสร้างสรรค์
สำหรับ Android แค่เปลี่ยนธีมใหม่ ก็สร้างความรู้สึกว่าเหมือนได้เปลี่ยนเครื่องใหม่ สามารถปรับแต่งโฮมสรีนได้อย่างอิสระ และสำหรับคนที่ชอบแชทเป็นชีวิตจิตใจต้องเลือก Android มีคีบอร์ดเก่งๆให้เลือกหลายตัว ที่สำคัญพิมพ์แบบ Swipe ได้
นักเล่น
iOS โดดเด่นด้านความบันเทิง ทั้งเกมส์และแอพมีให้เลือกจำนวนมากและมีคุณภาพ มีแอพระดับพรีเมี่ยมจาก Apple และที่สำคัญคือเครื่องที่ใช้ iOS รุ่นใหม่ๆ เล่นแอพเก่าๆได้เลย
          เปรียบเทียบการใช้งานระหว่างระบบปฏิบัติการ IOS กับ ANDROID
iOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Apple  ซึ่งใช้ในผลิตภัณฑ์ที่บริษัท Apple เป็นผู้ผลิต อุปกรณ์สื่อสารภายใต้ยี่ห้อ Apple  เช่น iPod, iPad และ iPhone

                                          
ข้อดี คือ มี Application หลากหลาย มีบริการ App Store และโปรแกรม iTunes สนับสนุนการจัดการอุปกรณ์มีเมนูการใช้งาน รวดเร็วและเข้าใจง่าย  โปรแกรม Web Browser (Safari) ตอบสนองได้รวดเร็ว
ข้อเสีย คือ ผู้ใช้งานไม่สามารถออกแบบปรับเปลี่ยนหน้าจอได้ตามความต้องการ ไม่สามารถทํางานได้พร้อมๆ กันหลายอย่าง เช่น ไมสามารถฟังเพลงพร้อมเปิด Web Browser เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตได้
Android   เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Google  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSource  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดหรือแบบฟรีนั่นเอง ดังนั้นผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่และ Tablet  จึงนิยมนํา Android  ไปใช้เป็น OS เช่น HTC, Samsung ในตระกลู Galaxy
                                                        53
ข้อดี คือ เป็นมาตรฐานเปิดทําให้เกิดความหลากหลายและมี Application ให้เลือกใช้มากมาย และสามารถเชื่อมต่อกับบริการต่างๆของ Google  ได้สะดวก เช่น Gmail, Google Talk, Google Maps และ Google Search Engine
ข้อเสีย คือ ไม่คล่องตัวเท่า iOS  และการที่เป็นระบบเปิดทําให้มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบมีหลายยี่ห้อ หลายขนาดหน้าจอ ทําให้ Application ต่างๆ ต้องพัฒนาออกมาสามารถใช้งานได้ เฉพาะรุ่นเท่านั้น เนื่องจากอาจติดปัญหาเรื่อง ความกวางของหน้าจอ เป็นต้น
ที่มา : http://makky.in.th/2375/
2. ระบบปฏิบัติการ dos

                             
ระบบปฏิบัติการดอส  (DOS : Disk Operating System)
ระบบปฏิบัติการดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับไมโครคอมพิวเตอร์  การใช้งานระบบปฏิบัติการดอสนั้น  ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งลงไป  เช่น  ถ้าต้องการดูรายชื่อแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ของเครื่องผู้ใช้ก็ต้องพิมพ์คำสั่งในการดูชื่อแฟ้มข้อมูลลงไประบบปฏิบัติการจึงจะทำงานในแต่ละคำสั่งนั้น
คำสั่งของระบบปฏิบัติการดอสแบ่งเป็น ๒  ประเภท  คือ  คำสั่งภายใน  (internal  command) และคำสั่งภายนอก (external  command) คำสั่งภายใน  คือ  คำสั่งที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันที  เนื่องจากคำสั่งจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง  ตั้งแต่เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา  ส่วนใหญ่เป็นคำสั่งที่เรียกใช้งานบ่อย ๆ   ตัวอย่างเช่น  คำสั่งดูรายชื่อแฟ้มข้อมูล "dir" คำสั่งลบแฟ้มข้อมูล  "del ตามด้วยชื่อแฟ้มข้อมูล" เป็นต้น
คำสั่งภายนอก  คือ  คำสั่งที่เรียกโปรแกรมที่เก็บไว้มาทำงาน  เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ไม่มีการใช้งานบ่อยเหมือนกับคำสั่งภายใน  โดยโปรแกรมที่เรียกทำงานได้จะต้องเป็นโปรแกรมที่มีส่วนขยายเป็น  com  exe  และ  bat  เท่านั้นนอกจากนี้ยังมีลำดับการทำงานอีกด้วย  กล่าวคือโปรแกรมที่มีชื่อเดียวกับระบบปฏิบัติการดอสจะประมวลผลโปรแกรมที่มีส่วนขยายเป็น com ก่อนถ้าไม่มี  จึงจะประมวลผลโปรแกรมที่มีส่วนขยายเป็น exe  และถ้าไม่มีทั้งสองส่วนขยายข้างต้น จึงจะประมวลผลโปรแกรมที่มีส่วนขยายเป็น bat
ข้อจำกัดของระบบปฏิบัติการดอสมีหลายประการ  คือ  ระบบปฏิบัติการดอสไม่สามารถทำงานแบบหลายๆ งานพร้อมกันได้  และจำกัดเนื้อที่หน่วยความจำเพียง  ๖๔๐  กิโลไบต์
นอกจากนี้  การใช้งานระบบปฏิบัติการดอสผู้ใช้จะต้องจำคำสั่งต่างๆ ในการใช้งานจำนวนมากเพื่อเรียกใช้โปรแกรมเพียง ๑ โปรแกรม  ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่า  การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์มีความยุ่งยาก  ระบบปฏิบัติการดอสจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้วในปัจจุบันนี้  ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม  โดยออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่ใช้ รูปภาพแทนคำสั่งขึ้นมา  ที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า  "โปรแกรมวินโดวส์"
ที่มา : http://guru.sanook.com/590/


3. ระบบปฎิบัติการ Linux

                                           
- ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน 
การเปรียบเทียบ linux กับ windows

 ลีนุกซ์ (Linux) และวินโดว์ส (Windows) ต่างเป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)   ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งระดับผู้ใช้ทั่วไป จนถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก   ทว่าประสิทธิภาพของระบบทั้งสองนี้   กลับรับรู้กันอย่างคลุมเครือหรือไม่ก็เพียงเฉพาะระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น   ซึ่งเป็นการลำบากอย่างยิ่งสำหรับผู้กำลังตัดสินใจที่จะใช้ระบบใดระบบหนึ่ง   บนเครื่องของตน  

 สรุป  ข้อแตกต่างของระบบ Windows กับระบบ Linux
สำหรับโหมดไฟล์ของระบบ Windows กับระบบ Linux นั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน ส่วนมากระบบ Windows สามารถใช้งานได้ปกติไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับโหมดไฟล์เท่าไหร่ ระบบโหมดไฟล์จะเกี่ยวกับท่านที่ใช้ Hosting เป็นระบบ Linuxเป็นส่วนใหญ่ที่จะต้องเรียนรู้การเปลี่ยนโหมดไฟล์ (Change Mode) การเปลี่ยนโหมดไฟล์นั้นจะเกี่ยวกับการเก็บค่าคอนฟิกระบบตอนติดตั้ง โดยที่ระบบ CMS แต่ละตัวจะมีการเปลี่ยนโหมดไฟล์ที่ไม่เหมือนกัน อาทิเช่น ระบบPHPNuke จะเปลี่ยนไฟล์ config.php และ config-old.php เป็น 666 เป็นต้น การที่เราจะเปลี่ยนที่ไฟล์ไหนนั้นปกติระบบ cms ที่เราใช้จะแนะนำให้อยู่แล้ว เราสามาถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในไฟล์ readme.txt หรือในไดเร็กทอรีdoc ของตัวติดตั้งนั้นๆ

ที่มา : http://surawutn.blogspot.com/2012/06/linux-windows.html
ที่มา : http://www.thaiall.com/os/os11.htm



4. ระบบปฎิบัติการ windows                                 

                                                          
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Operating System :OS) หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการจัดการระบบเพื่อติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับกับซอฟต์แวร์ประเภทต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้น เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางคอยจัดการระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างโปรแกรมกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ส่วนที่นำเข้า( Inputs)


          ระบบปฏิบัติการ WindowsXPWindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้างกล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP

        ระบบปฏิบัติการ WindowsNT
ระบบปฏิบัติการ WindowsNT เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่ายในระยะใกล้ ( LAN : Local Area Network) โดยจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

         ระบบปฏิบัติการปาล์ม
ระบบปฏิบัติการปาล์ม ( Palm OS) มีจุดกำเนิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ที่มีความต้องการทรัพยากรต่ำ มีความสามารถไม่สูงมากนัก แต่มีความสะดวกในการใช้งาน คล่องตัว และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องได้

          ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์หรือ
อุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก


         ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูงในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงานมาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่าเพราะว่าลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี ( Open Source) ผู้นำไปใช้งานสามารถที่จะพัฒนาและปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหาระหว่างใช้งานได้ทันที

         ระบบปฏิบัติการ Windows CE
Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กหรือรุ่นย่อส่วน สำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้อย่างยิ่ง

        ระบบปฏิบัติการ WindowsXP
WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้างกล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงกาได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปีบริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมายไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงามและง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง ( Windows Media Player 8) และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต ( Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่และผู้ใช้งานทั่วไป

        Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น


เปรียบเทียบ Windows Phone vs Android vs iOS ต่างกันอย่างไร

iOS มีตัวเลือกของอุปกรณ์น้อยที่สุด เพราะมีอุปกรณ์ที่ใช้โทรศัพท์ได้อยู่รุ่นเดียว คือ iPhone แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะความใช้งานง่าย และรูปแบบที่ดูดี ในสไตล์ apple แต่ก็มักถูกต่อว่า “เห็นแก่ตัว” จะใช้ App อะไรก็ต้องได้รับอนุญาตจาก Apple เท่านั้น นอกจากว่าจะเอาเครื่องไป Jailbreak เสียก่อน

Android เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งลงบนโทรศัพท์ หรือ Tablet จำนวนมากที่สุดในโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อุปกรณ์ทุกรุ่น ที่ลง android จะใช้งาน ได้เต็มประสิทธิภาพ เหมือนกันหมด

และสุดท้าย สำหรับ Windows Phone น้องใหม่ในวงการ ซึ่งยังตามหลังทั้ง Android และ Apple อยู่หลายก้าว กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและค้นหาตนเอง เพื่อให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เช่นเดียวกันในยุคของ PDA คงต้องหาสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ มาดึงดูดใจ ให้คนมาเลือกใช้ Windows Phone กันมากขึ้น สิ่งแรกที่ Microsoft ได้ทำไปแล้ว ก็คือ ผู้ใช้ Windows Phone สามารถใช้ Microsoft office ได้บนโทรศัพท์ แบบฟรีๆ เป็นต้น อีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ คือ การเซ็นต์สัญญา กับ Nokia เพื่อพัฒนามือถือ และระบบปฏิบัติการบนมือถือ ร่วมกัน


ที่มา : http://board.postjung.com/697426.html

5. ระบบปฎิบัติการ android

                                             

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น

                                     

ความแตกต่างระหว่าง ANDROID กับ IOS

Android เป็นระบบแบบเปิด ทำให้สามารถปรับแต่งได้ ตั้งแต่เปลี่ยนหน้า home screen ไปจนถึงการแก้ไขไฟล์ระบบ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการ (Ubuntu OS)                  
ส่วน iOS ระบบ interface ทำง่ายกว่าและแข็งแรงกว่า Android ครับ เฉพาะแค่ Core Graphicsของมันมี library สำเร็จรูปน้องๆ Photoshop และมันทำงานได้ดีกว่าระบบอื่นเยอะมากทดสอบง่ายๆ ถ้าเอาภาพ 10,000 ใส่เงา รันบน iOS มันสามารถรัน 60fps สบายๆในขณะที่ Android รุ่นใหม่ล่าสุดค้างไปตั้งแต่เปิด app แล้ว และถ้าเขียน App ที่ต้องใช้งาน Multi-threaded มันบริหาร memory ได้ดีกว่า Android มาก ถ้าสังเกตุพวก App ด้านการจัดการเสียง หรือพวกเล่นดนตรี App มันจะทำงานได้ดีและเสถียรกว่าไม่มีการ delay

ที่มา : http://www.instrument.tmd.go.th/?p=1796

ที่มา : http://guru.sanook.com/7982/








( เชิญฟังเพลงสบายๆก่อนนะคะ )